Article

 บทความ  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


สรุป 

      วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ  3 – 6  ขวบ  มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา  เคมี  กลศาสตร์  แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก  อายุ  2 – 6  ขวบ  ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ  (pre – operative  stage)  เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง  (self - centered)  และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง     ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ  เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต  ค้นหา  ให้เหตุผล  หรือทดลองด้วยตนเอง  ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ  เช่น  การเรียนรู้การเจริญเติบโตของพืชด้วยการทดลองปลูกพืช  สังเกตความสูงของพืช  และการงอกงามของพืช  เป็นต้น
       การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้  ตัวอย่าง  เช่น  เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู  ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้  เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้  เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์
      สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้  (สตาเคิล,  2542  :  12)
                        หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว
                        หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
                        หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
                        หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์
                1.  ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ  และปรากฏการณ์ที่มี
                2.  ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
                3.  กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น  ความสนใจ  และเจตคติของเด็กด้วยการค้นให้พบ
                4.  ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้นของตัวเด็ก
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น